วิสัยทัศน์

การถวายความปลอดภัย และถวายพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ เป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง ของกองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ จะต้องปฏิบัติพันธกิจ

๑. การฝึกอบรมเป็นกระบวนการเสริมสร้าง พัฒนา และเพิ่มพูนขีดความสามารถ และทักษะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันและ สอดคล้องกับความต้องการ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในอนาคต

๒. การฝึกเป็นการสร้างความพร้อมให้กับกำลังพล เพื่อให้สามารถตอบสนองแนวทางการใช้กำลังพลของกองทัพบก ประการ ได้แก่ การป้องกันประเทศ, การรักษาความมั่นคงภายใน, การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ, การพัฒนาประเทศ และการปฏิบัติภารกิจ ถวายความปลอดภัย และถวายพระเกียรติ ในสภาพภูมิประเทศและสถานการณ์ต่าง ๆ ทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม

๓. เพื่อเตรียมกำลังพลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งของตน อันจะเป็นผลให้ทุกนายสามารถปฏิบัติภารกิจตามคำสั่ง และแผนการฝึกประจำปีได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ส่งผลเป็นส่วนรวมให้กองทัพบกมีความพร้อมรบความต่อเนื่องในการรบและความทันสมัย สามารถเผชิญต่อภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ

๔. การจัดการฝึก ตามแผนการฝึกตามวงรอบประจำปี จะทำอย่างไรในการบูรณาการให้กำลังพลมีความรู้เท่าเทียมกัน ทุกหน่วยควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ ซึ่งแต่ละหน่วย ย่อมมีกำลังพลที่มีประสบการณ์ และความรู้ จะทำอย่างไร ที่จะถ่ายทอดหรือขยายผลทางการฝึกศึกษา แก่กำลังพลส่วนต่าง ๆ ได้

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

น้ำหวานอัดลมกับเด็กไทย เรื่องของสุขภาพที่ควรจับตามอง (โลกสดใส-กายสุขสันต์)

หากจะบอกว่า ธรรมชาติของเด็กๆส่วนใหญ่ไม่มีใครรังเกียจรสหวาน อาหารของคนในวัยเด็กจึงผูกพันอยู่กับ รสหวาน เป็นหลัก เริ่มมาตั้งแต่ รสจากนมมารดา อาหารมื้อแรกที่เด็กได้ลิ้มลอง

เมื่อวิชาการทางด้านสุขภาพเจริญมากขึ้น ได้มีการค้นพบว่า ความหวาน ไม่ได้ให้แต่ประโยชน์กับเด็กเพียงประการเดียว แต่ความหวานยังสร้างโทษให้เกิดดขึ้นกับสุขภาพของเด็กๆได้เช่นกัน จึงได้เกิด เครือข่ายและองค์กรหลายกลุ่มที่ ออกมารณรงค์ให้เด็กหันมามองถึง โทษของความหวานที่เด็กๆควรจะต้อง ลดปริมาณการบริโภคลงบ้าง

หนึ่งในเครือข่ายรณรงค์ให้เด็กลดความหวานออกจาก อาหาร ซึ่งทำกันอย่างจริงจัง ทั้งในด้านหลักวิชาการ และการชี้แนะให้เห็นถึงคุณและโทษของความหวานในอาหารของเด็กๆ คือ เครือข่าย "เด็กไทยไม่กินหวาน"

"เด็กไทยไม่กินหวาน" เป็นเครือข่ายองค์กรและบุคคลหลายกลุ่ม ที่เน้นรณรงค์ให้เด็กๆ ลดการกินหวานลง และกินให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย เครือข่ายนี้ เกิดจากการรวมกลุ่มของ ทันตแพทย์ กุมารแพทย์ นักโภชนาการและนักวิชาการอิสระหลายสาขา ตั้งปณิธานร่วมกันที่จะสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้เกิดกับเด็กๆในเรื่องของการลดบริโภคอาหารหวานลงบ้าง ซึ่งองค์กรนี้เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)

เป้าหมายของ กลุ่มบุคคลในเครือข่ายคือ จะนำความรู้เรื่องโรคภัยจากการกินหวานมากเกินไป เสนอสู่สังคม เพื่อให้สังคมรับรู้และเกิดความตระหนัก เนื่องจากมีข้อมูลจากผลสำรวจที่ชัดเจนปรากฎออกมาทางภาควิชาการ ว่า เด็กไทยจำนวนมากในปัจจุบัน ได้รับน้ำตาลจากการกินขนม นมหวาน นมเปรี้ยวและน้ำอัดลม มากเกินกว่าที่ควร ทำให้เกิดผลลัพธ์ ส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้นทุกวัน ซึ่งจะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมาก ที่จะทำลายสุขภาพของเด็กๆต่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และ อาจจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตก่อนถึงวัยอันสมควรอีกด้วย

กิจกรรมอย่างหนึ่งของ เครือข่าย เด็กไทยไม่กินหวาน ได้พยายามที่จะสร้างค่านิยมในการกินแบบใหม่ในหมู่เด็กรุ่นใหม่ ให้ใส่ใจสุขภาพโดยการลดนิสัยการกินหวานๆ ลง ด้วยวิธีการการทำงานของเครือข่ายจะใช้แนวคิดด้านการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อทำให้เด็กๆ เปลี่ยนค่านิยมในการกินได้ให้จงได้

ในการสำรวจ จากวิถีชีวิตของเด็กๆพบว่า นอกเหนือจากขนมหวานต่างๆเกือบจะทุกประเภทแล้ว ในส่วนของ น้ำดื่มที่เรียกกันว่า น้ำอัดลม ที่มีขายกันอย่างกลาดเกลื่อนด้วยกุศโลบายของการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่ทุ่มงบประมาณลงไปอย่างมหาศาล เพื่อเปลี่ยนค่านิยม และ ปลุกเร้าให้เด็กและเยาวชนมองเห็นว่า น้ำอัดลม เป็นเสมือนส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็กที่จะขาดไม่ได้ ทั้งในด้าน ค่านิยม(แฟชั่น) และ ด้านสังคมการอยู่ร่วมกัน

มีการส่งเสริมเพื่อชักจูงให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสในการดื่มน้ำอัดลมมากยิ่งขึ้นจากนโยบายของผู้ผลิตน้ำอัดลมด้วยการ นำเสนอการาขายน้ำอัดลมขึ้นภายในสถาบันการศึกษาของเด็กๆ ด้วยการพยายามจะเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กในสถานศึกษาให้มองเห็นว่า น้ำดื่มที่นักเรียนควรจะดื่มนั้น ควรจะเป็นเพียงน้ำอัดลมอย่างเดียวเท่านั้น มีผลทำให้ ปริมาณการดื่มน้ำอัดลมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนถึงต้องมีการออกมาต่อต้านจาก บรรดา พ่อแม่ ผู้หลักผู้ใหญ่ ที่มองเห็นโทษของน้ำอัดลม ออกมาต่อต้าน ไม่ให้มีการยัดเยียดขายน้ำอัดลมให้เด็กในสถานศึกษาอย่างลักษณะการผูกขาด

สาเหตุที่ทำให้ น้ำอัดลมกลายเป็น โทษสำหรับเด็กและเยาวชน นักโภชนาการชี้ให้เห็นว่า เกิดจากปริมาณน้ำตาลที่ถูกเจือปนเข้าไปในน้ำอัดลมมีปริมาณมากเกินกว่าความต้องการของวัยเด็ก จึงทำให้กลายเป็นโทษกับร่างกายของเด็กๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคร้ายตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด รวมไปถึงโรคมะเร็ง

วารสารวิชาการ "การระบาดวิทยา ตัววัดความเสี่ยงและการป้องกันมะเร็ง" ของสมาคมวิจัยมะเร็งแห่งอเมริกา รายงานว่า มีการศึกษาพบว่า การดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีรสหวาน จะทำให้เสี่ยงกับการเกิดเป็นมะเร็งของตับอ่อน อันเป็นมะเร็งที่ทำให้ถึงตายได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง อย่างน่าหวาดหวั่น โดยมีรายงานยืนยันว่าการดื่มน้ำอัดลม เพียงแค่ดื่มอาทิตย์ละเพียง 2 หนเท่านั้น ก็จะทำให้โอกาสที่จะเป็นโรคเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาร์ค พีไรนา ของโรงเรียนสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมินเนโซตา ผู้เขียนรายงานอาวุโส กล่าวว่า "ระดับน้ำตาลในเครื่องดื่มที่สูง อาจจะไปหนุนระดับอินซูลินในร่างกายให้สูงขึ้น ซึ่งคิดว่ามีส่วนช่วยเป็นปุ๋ยให้เซลล์มะเร็งตับอ่อนเติบโตขึ้น" และ ผลจากการศึกษาแจ้งต่อไปว่า "ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมอาทิตย์ละ 2 หนขึ้นไป จะมีอัตราเสี่ยงกับโรคสูงขึ้น เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่ม ถึงร้อยละ 87 ซึ่งไม่พบลักษณะแบบเดียวกัน เกิดในหมู่ผู้ที่ดื่มน้ำผลไม้คั้น"

นอกเหนือจากการยืนยันถึงโทษของน้ำอัดลมในโรคมะเร็งแล้ว ยังมีโรคอื่นๆอีกสารพัด แม้กระทั่งโรคเก๊าต์ที่มักจะเป็นแต่เฉพาะผู้ใหญ้ ปัจจุบันก็พบว่า กำลังคุกคามในหมู่ของเด็กๆที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ สูงถึง 85% ทีเดียว

ถึงเวลาแล้วที่บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครอง และ ผู้ที่ต้องการสร้างสุขภาพที่ดี อนามัยที่สมบูรณ์ให้เกิดกับลูกหลานควรที่จะหันมามองและกดดันไม่ส่งเสริมให้ลูกๆต้องดื่มน้ำอัดลมอย่างเป็นบ้าเป็นบออยู่ในเวลานี้


ปานมณี

วันที่ 10/3/2010